ให้บริการ รับอบความร้อนพาเลทไม้ ลังไม้ (HT) ตามมาตรฐาน IPPC
อัพเดทล่าสุด: 15 ก.ค. 2024
631 ผู้เข้าชม
ความรู้เกี่ยวกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ (Wood Packaging Material : WPM)
วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการส่งออกที่ตัดสินใจเลือกไม้มาปกป้องสินค้าของตนเองในระหว่างการขนส่ง อาจจะกล่าวได้ว่า สินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ไม้ในการขนส่งระหว่างประเทศรวมทั้งภายในประเทศจะใช้ WPM เป็นหลัก เนื่องจากมีต้นทุนต่่ำที่สุดและป้องกันความเสียหายของสินค้าได้ดี เช่น แผ่นรองสินค้า (Pallet) ลังไม้ทึบ (Crate) ลังไม้แบบโปร่ง (Case) แผ่นรองราก (Skid) เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ทำจากไม้ จึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก มีการนำไม้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีราคาถูกและมีมากมาประกอบเป็นบรรจุภัณฑ์ เช่น ไม้ยาง ไม้สน ไม้มะม่วง ทุเรียน และไม้เบญจพรรณ ฯลฯ จนถึงปัจจุบันนี้ไม้เริ่มมีราคาสูง แต่ก็ยังมีราคาถูกกว่าวัสดุอื่น ๆ แต่โดยที่ไม้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงมีการนำมาซ่อมแซมต่อเติม หรือสร้างใหม่ จนทำให้ไม่สามารถทราบแหล่งกำเนิดของบรรจุภัณฑ์ไม้ได้
ไม้เป็นผลผลิตจากพืช เป็นที่ทราบที่ว่ามีศัตรูทำลายไม้ที่รู้จักกันแพร่หลาย ได้แก่ ปลวก (Termite) มอดรูเข็ม เป็นต้น แต่ยังมีศัตรูของไม้ที่มีความร้ายแรงหลาย ๆ ชนิดที่สามารถติดไปกับบรรจุภัณฑ์ไม้ และสามารถแพร่ระบาดเข้าทำลายป่าไม้ได้อย่างรุนแรง ได้แก่ Asian Longhorn Beetle (Anoplophora glabripennis) pinewood nematode (Bursaphelenchus xylophilus) Emerald Ash Borer (Agrillus planipennis) ฯลฯ ยิ่งกว่านั้นยังมีการตรวจพบศัตรูพืชในบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศ จึงได้มีการศึกษาความเสี่ยงของศัตรูพืช โดยคณะทำงานภายใต้อนุสัญญา สำหรับการอารักขาพืชระหว่างประเทศ โดยจัดทำมาตรการที่เรียกว่า มาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ 15 (International Standard for Phytosanitary Measure No.15 ; ISPM No.15) เรื่อง แนวทางการควบคุมบรรจุภัณฑ์ไม้ในการค้าระหว่างประเทศ (Guideline for Regulating Wood Packaging Material in International Trade) เพื่อควบคุมบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศให้ปราศจากศัตรูพืช โดยกำหนดให้ WPM ต้องได้รับการกำจัดศัตรูพืช ก่อนการส่งออกด้วยการรมยา (Fumigation) ด้วย Methyl bromide (MB) และอบด้วยความร้อน (Heat Treatment : HT) จากนั้นจึงประทับตรารับรองบน WPM ตามแบบที่ IPPC กำหนด มาตรการนี้จะต้องดำเนินการควบคุมและขึ้นทะเบียนผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ โดยองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization : NPPO) อันได้แก่กรมวิชาการเกษตรได้รับหน้าที่ดำเนินการเป็นผู้ตรวจสอบรับรอง (Certification Body) ให้กับผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2547 เป็นต้นมา
ไม้เป็นผลผลิตจากพืช เป็นที่ทราบที่ว่ามีศัตรูทำลายไม้ที่รู้จักกันแพร่หลาย ได้แก่ ปลวก (Termite) มอดรูเข็ม เป็นต้น แต่ยังมีศัตรูของไม้ที่มีความร้ายแรงหลาย ๆ ชนิดที่สามารถติดไปกับบรรจุภัณฑ์ไม้ และสามารถแพร่ระบาดเข้าทำลายป่าไม้ได้อย่างรุนแรง ได้แก่ Asian Longhorn Beetle (Anoplophora glabripennis) pinewood nematode (Bursaphelenchus xylophilus) Emerald Ash Borer (Agrillus planipennis) ฯลฯ ยิ่งกว่านั้นยังมีการตรวจพบศัตรูพืชในบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศ จึงได้มีการศึกษาความเสี่ยงของศัตรูพืช โดยคณะทำงานภายใต้อนุสัญญา สำหรับการอารักขาพืชระหว่างประเทศ โดยจัดทำมาตรการที่เรียกว่า มาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ 15 (International Standard for Phytosanitary Measure No.15 ; ISPM No.15) เรื่อง แนวทางการควบคุมบรรจุภัณฑ์ไม้ในการค้าระหว่างประเทศ (Guideline for Regulating Wood Packaging Material in International Trade) เพื่อควบคุมบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศให้ปราศจากศัตรูพืช โดยกำหนดให้ WPM ต้องได้รับการกำจัดศัตรูพืช ก่อนการส่งออกด้วยการรมยา (Fumigation) ด้วย Methyl bromide (MB) และอบด้วยความร้อน (Heat Treatment : HT) จากนั้นจึงประทับตรารับรองบน WPM ตามแบบที่ IPPC กำหนด มาตรการนี้จะต้องดำเนินการควบคุมและขึ้นทะเบียนผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ โดยองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization : NPPO) อันได้แก่กรมวิชาการเกษตรได้รับหน้าที่ดำเนินการเป็นผู้ตรวจสอบรับรอง (Certification Body) ให้กับผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2547 เป็นต้นมา
วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ (Wood Packaging Material : WPM) คืออะไร
วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ใน ISPM No.15 หมายถึง บรรจุภัณฑ์ไม้ที่ผลิตมาจากวัตถุไม้ดิบ (Raw Wood) หรือไม้ที่นำกลับมาใช่ใหม่ที่ประกอบขึ้นมาเพื่อใช้รองรับสินค้าและป้องกันความเสียหายของสินค้าจากการกระแทกหรือกระทบกระเทือน เช่น ลังไม้ทึบ (case) แผ่นไม้รองรับสินค้า (pallet) กล่องไม้ (packing block) ถังไม้ (drums) ลังไม้โปร่ง (crate) ไม้รองมุมกันกระแทก (pallet collars) ไม้รองลาก (skids) ไม้กันกระแทก (dunnage) เป็นต้น WPM เหล่านี้ใช้บรรจุสินค้าแทบทุกชนิด เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ อะไหล่เครื่องบิน เครื่องปรับอากาศ สินค้าเกษตร โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ บรรจุภัณฑ์ไม้เหล่านี้อยู่ในข่ายควบคุม เนื่องจากมีความเสี่ยงของศัตรูพืชสูง แต่มิใช่เพียงบรรจุภัณฑ์ที่ยกตัวอย่างนี้เท่านั้นที่ต้องควบคุม ขอให้ท่านนึกไว้เสมอว่าบรรจุภัณฑ์ไม้ทุกชนิดที่ทำจากไม้ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการกำจัดศัตรูพืชตามที่ ISPM No.15 กำหนดให้ถือว่าอยู่ในข่ายควบคุมที่ต้องกำจัดศัตรูพืช เพื่อการส่งออก
มาตรการกำจัดศัตรูพืชให้กับวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ ตามข้อกำหนดใน ISPM No.15
ISPM No.15 กำหนดให้วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศ ต้องมีการกำจัดศัตรูพืชก่อนการส่งออก ดังนี้
1.การรมยา (Fumigation) ด้วยเมธิลโบร์ไมด์ (Methyl bromide : MB) อัตรา 48 gms./cu.m./24 hrs.
2.การอบด้วยความร้อน (Heat Treatment : HT) อบด้วยความร้อนให้ใจแกนกลางไม้ ได้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 56 °C ยาวนานต่อเนื่อง 30 นาทีเป็นอย่างน้อย
1.การรมยา (Fumigation) ด้วยเมธิลโบร์ไมด์ (Methyl bromide : MB) อัตรา 48 gms./cu.m./24 hrs.
2.การอบด้วยความร้อน (Heat Treatment : HT) อบด้วยความร้อนให้ใจแกนกลางไม้ ได้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 56 °C ยาวนานต่อเนื่อง 30 นาทีเป็นอย่างน้อย
เครื่องหมายหรือตราประทับที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์ไม้หลังจากการกำจัดศัตรูพืช
เครื่องหมายใช้เพื่อรับรองว่า วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่มีเครื่องหมายนี้ แสดงให้เห็นว่ามีการกำจัดศัตรูพืช ตามมาตรการที่รับรองแล้ว
เครื่องหมายนี้ควรจะต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย
- สัญลักษณ์รูป IPPC
- อักษร 2 ตัว (XX) เป็นรหัสของประเทศ เช่น
TH = Thailand
SG = Singapore
NL= Netherland เป็นต้น
- อักษร 000 เป็นหมายเลขที่กำหนดให้ผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ โดย NPPO เช่น 001
- อักษร YY เป็นรหัสการกำจัดศัตรูพืช คือ MB หรือ HT (MB = รมด้วย Methyl bromide และ (HT = Heat Treatment)
เครื่องหมายนี้ควรจะต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย
- สัญลักษณ์รูป IPPC
- อักษร 2 ตัว (XX) เป็นรหัสของประเทศ เช่น
TH = Thailand
SG = Singapore
NL= Netherland เป็นต้น
- อักษร 000 เป็นหมายเลขที่กำหนดให้ผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ โดย NPPO เช่น 001
- อักษร YY เป็นรหัสการกำจัดศัตรูพืช คือ MB หรือ HT (MB = รมด้วย Methyl bromide และ (HT = Heat Treatment)
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
---------------------------------
บริษัท ซีเคทีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้บริการ รับอบความร้อนพาเลทไม้ ลังไม้ (HT) ตามมาตรฐาน IPPC และออกหนังสือรับรองสำหรับส่งออก/ใช้ภายในประเทศ ซึ่งได้ทำการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังแสดงตามเอกสารนี้